วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เครื่องดนตรีไทยที่มีการประยุกต์ให้เข้ากับเครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีไทยที่มีการประยุกต์ให้เข้ากับเครื่องดนตรีสากล

     ๑.    ตะเลงเอก เปรียบได้กับระนาดเอกของไทยเดิม ทำไมต้องตั้งชื่อว่า ตะเลง เป็นเพราะเสียงของระนาดคือ เต็ง ๆ ตะเลง ๆ จึงใช้เสียงนำมาตั้งเป็นชื่อ การตีตะเลง เหมือนกับ การตีระนาดทุกอย่าง ต่างที่วิธีการ และองค์ความรู้    ซึ่งระนาดปัจจุบันมี ๒๒ ลูก แต่ ตะเลง มี ๓๗ ลูก แต่มีความยาวผืนเท่ากัน สามารถใช้รางเดียวกันได้เลย ระยะห่างของมือก็เท่ากัน คือ ห่าง ๘ ลูกระนาด เท่ากับห่าง ๑๓ ลูก ของตะเลง เราสามารถเรียนรู้วิธีการเล่นตะเลงได้ในแบบสากลสามารถอ่านโน้ตสากลได้ มีการประสานเสียงเป็นแบบสากลทั่วโลก



     ๒.     ตะเลงทุ้ม   เปรียบได้กับระนาดทุ้มของไทย ทำหน้าที่ ประสาน สอดทำนอง ความยาวผืนเท่ากับระนาดทุ้มไทยเช่นกันแต่มี ๒๙ ลูก



     ๓.   ขิมโครมาติค เป็นเครื่องมือที่ผู้เขียนมีความภูมิใจเป็นอย่างมากเพราะเป็นเครื่องแรกที่ประยุกต์ขึ้นมาอีกทั้งมีเทคนิคและรูปแบบที่ไม่เหมือนใครในโลก สามารถเล่นโน้ตสากลได้ครบสมบูรณ์โดยไม่ต้องเสริมหลักเหมือนขิมทั่วไป มีขนาด ๑๘ หย่องที่เป็นมาตรฐานซึ่งมีขนาดเท่ากับขิม ๑๑ หย่องทั่วไป



     ๔. แข่   หรือ จะเข้สากล ขนาดเท่าจะเข้เดิมทุกอย่างต่างกันที่มี นม ๑๙ นม ของเดิมมี ๑๑นม และแข่มีทั้ง  สาย กับ  สาย สามารถเล่นคอร์ดได้



     ๕. ฆ้องสากล   เหมือนกับฆ้องไทย เป็นการรวม เอาฆ้องวงใหญ่ มารวม กันกับฆ้องวงเล็ก มีลูกฆ้อง ๒๖ ลูก สามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนองและ แนวประสาน



     ๖กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีโบราณ มี  สาย แต่เรานำมาแยกสายออกจากกัน วิธีการเล่นเหมือนกับการเล่นกีตาร์สากล



     ๗ขลุ่ย เหมือนขลุ่ยทั่วไป มี๗ รูแต่มีเสียงสากลครบ


        
     และยังมีอื่นๆอีกมากอาทิเช่น เปิงมางคอก ซึ่งเดิมมี  ลูก แต่ประยุกต์แล้วมี ๑๓ ลูกตั้งเสียงเป็นแบบสากลครบทุกเสียง

     การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยกับเครื่องดนตรีสากล

- เพลง คิดถึงพี่ไหม


- เพลง ทานตะวัน





*-*-*-*-*-*

เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีไทยในการบรรเลง : ค้างคาวกินกล้วย

เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีไทยในการบรรเลง : ค้างคาวกินกล้วย

     เพลงค้างคาวกินกล้วยเป็นเพลงไทยโบราณที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเพลงสั้น ๆ ซึ่งนิยมใช้บรรเลงในการแสดงละครประกอบฉากป่าเขาลำเนาไพรหรือการเดินทางของตัวตลก เพลงค้างคาวกินกล้วยเป็นเพลงเร็วอัตราชั้นเดียว ไม่ทราบนามผู้แต่ง เป็นทำนองเก่าที่ใช้ประกอบการแสดงละคร ทำนองจังหวะกระชับ รุกเร้า ชวนให้เกิดอารมณ์คึกคักสนุกสนาน มี 3 ท่อน ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มนำมาแสดงกันในสมัยใด ปัจจุบันวงดนตรีสากลนิยมนำไปเล่นแต่ก็ยังเป็นทำนองเดิม ทั้งนี้ มีหลายคนที่ตั้งข้อสังเกตว่าทำนองของเพลงนี้น่าจะกำเนิดในสมัยกรุงศรีอยุธยา

     โน๊ตเพลง

ท่อน 1
     | - ล - ซ ซ ซ - มํ | - - ซํ มํ | - - รํ มํ | - - ซํ มํ | - - รํ มํ ซํ มํ รํ ดํ | - รํ - มํ |

     | - ล - ซ ซ ซ - มํ | - - ซํ มํ | - - รํ มํ | - - ซํ มํ | - - รํ มํ ซํ มํ รํ ดํ | - รํ - ดํ |
ท่อน 2
     | - - - - | - รํ - รํ | - - มํ รํ ดํ รํ - - | - มํ - รํ | - ดํ - ท ล ซ ล ท | - ดํ - รํ |

     | - - - - | - รํ - รํ | - - มํ รํ ดํ รํ - - | - ดํ รํ มํ ซํ มํ รํ ดํ รํ มํ รํ ดํ | - ท - ล |
ท่อน 3
     | - - - - | - ล - ล ซ ล ดํ ล ซ ม - ซ| - ม - ล ซ ม - ซ ล ซ ม ซ ล ดํ - ล |

     | - - - - | - ล - ล ซ ล ดํ ล ซ ม - ซ | - ม - ล ซ ม - ซ | - มํ - รํ ซํ มํ มํ มํ |



*-*-*-*-*-*

เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีไทยในการบรรเลง : เขมรไทรโยค

เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีไทยในการบรรเลง : เขมรไทรโยค

เพลงเขมรไทรโยค เป็นเพลงไทยเดิม พระนิพนธ์โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสน้ำตกไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2431
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์โดยได้เค้ามาจากเพลง "เขมรกล่อมลูก" ซึ่งเป็นเพลง 2 ชั้น ดัดแปลงขึ้นใหม่เป็นเพลง 3 ชั้น กับได้ทรงพระนิพนธ์บทร้องประกอบบรรยายถึงความงดงามของธรรมชาติ แล้วประทานนามว่า "เขมรไทรโยค" ออกแสดงครั้งแรกในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2431 ต่อมาถูกตัดทอนให้เป็นเพลงชั้นเดียว ใส่เนื้อร้องโดยนางจันทนา พิจิตรคุรุการ และขยายเป็นเพลง 3 ชั้น เมื่อ พ.ศ. 2491 โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) กลายเป็น "เพลงเถา" ขึ้นมา

เนื้อร้อง
บรรยายความตามไท้ เสด็จยาตร ยังไทรโยคประพาสพนาสณฑ์ น้องเอย...เจ้าไม่เคยเห็น
ไม้ไร่หลายพันธ์ คละขึ้นปะปน ที่ชายชลเขาชะโงกเป็นโกรกธาร น้ำพุพุ่งซ่าน ไหลมาฉาดฉาน
เห็นตระการ มันไหลจอกโครมจอกโครม มันดังจ้อกจ้อก จ้อกจ้อก โครมโครม
น้ำใสไหลจนดู หมู่มัสยา กี่เหล่าหลายว่ายมา ก็เห็นโฉม น้องเอย เจ้าไม่เคยเห็น
ยินปักษาซ้องเสียง เพียงประโคม เมื่อยามเย็นพยับโพยมร้องเรียกรัง เสียงนกยูงทอง มันร้องโด่งดัง
หูเราฟังมันร้องดังกระโต้งฮง มันดังก้อก ก้อก ก้อกก้อก กระโต้งฮง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : 
  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%84

  https://www.youtube.com/watch?v=E2NBEDxk5bE

*-*-*-*-*-*

เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีไทยในการบรรเลง : ลาวดวงเดือน

เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีไทยในการบรรเลง : ลาวดวงเดือน

เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงไทยเดิมเพลงหนึ่งที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวไทย ทรงพระนิพนธ์โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2425
เดิมเพลงนี้กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมทรงตั้งชื่อว่า เพลงลาวดำเนินเกวียน เพราะโปรด "เพลงลาวดำเนินทราย" ของ พระยาประสานดุริยศัพท์ จึงตั้งพระทัยประพันธ์เพลงสำเนียงลาวที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน แต่เนื่องจากเนื้อร้องที่ขึ้นต้นว่า โอ้ละหนอ...ดวงเดือนเอย....ทำให้ผู้ฟังนิยมเรียกกันว่า ลาวดวงเดือน เป็นชื่อที่นิยมเรียกสืบมาจนหลงลืมชื่อเดิมที่ผู้ประพันธ์ทรงตั้งไว้

ประวัติ 
ประวัติของเพลงลาวดวงเดือน มีอยู่ว่า เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมได้เสด็จไปนครเชียงใหม่ และเกิดชอบพอกับเจ้าหญิงชมชื่น พระธิดาองค์โตของเจ้าราชสัมพันธวงศ์และเจ้าหญิงคำย่น ณ ลำพูน โปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเถ้าแก่เจรจาสู่ขอ แต่ได้รับการทัดทาน ไม่มีโอกาสที่จะได้สมรสกัน ทำให้พระองค์โศกเศร้ามาก และได้ทรงพระนิพนธ์เพลงนี้ขึ้น เมื่อใดที่ทรงระลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่น ก็จะทรงดนตรีเพลงลาวดำเนินเกวียน (ลาวดวงเดือน) เพลงนี้ หรือให้มหาดเล็กเล่นให้ฟัง มาตลอดพระชนม์ชีพ และสิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้เพียง 28 พรรษา ด้วยโรคปอดเรื้อรัง ซึ่งบ้างก็ว่าทรงตรอมพระทัยเพราะความอาลัยรัก

เนื้อร้อง
โอ้ละหนอดวงเดือน พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ว่าดึกแล้วหนอพี่ขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุม(เอื้อน) พี่นี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูเรียมเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นกรุ่นครันหอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชยเอยเราละเหนอ
โอ้ละหนอนวลตาเอย พี่นี้รักแสนรักดังดวงใจ
โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกพี่อาลัยเจ้าดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรมเริศร้างเวหา เบิ่งดูฟ้า(ละหนอ)เห็นมืดมน
พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย
พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย
เสียงไก่ขันขานเสียงหวานเจื้อยแจ้ว หวานสุดแล้วหวานแจ้วเจื้อยเอย (ซ้ำ)
มันชั่งหวานเสนาะหวานเพราะกระไรเลย บ่แม้นทรามเชยเราละเหนอ (ซ้ำ)


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99

  https://www.youtube.com/watch?v=zN7jQeOEsag 

*-*-*-*-*-*
  

การประสมวง

                                                                การประสมวง


     วงปี่พาทย์ คำว่า "ปี่พาทย์" หมายถึงการประสมวงที่มีปี่ และเครื่องเคาะ (ตี) ร่วมด้วย สมัยสุโขทัยได้เริ่มมี "วงปี่พาทย์เครื่องห้า" ขึ้นมาก่อน โดยใช้เครื่องดนตรี 5 ชิ้น คือ ปี่ ตะโพน ฆ้อง กลอง ฉิ่ง ต่อมาได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับจนเจริญถึงขีดสุดในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีการเพิ่มระนาดเข้าไปในภายหลัง วงปี่พาทย์ในปัจจุบันแบ่งออกได้ 7 แบบ ตามการจัดกลุ่มเครื่องดนตรีดังนี้

     ปี่พาทย์ชาตรี - ปี่นอก, ฆ้องคู่, โทนชาตรี, กลองชาตรี, ฉิ่ง, กรับ ปี่พาทย์เครื่องห้า - ปี่ใน, ฆ้องวงใหญ่, ระนาด, ตะโพน, กลองทัด, ฉิ่ง

     ปี่พาทย์เครื่องคู่ - ปีใน, ปี่นอก, ฆ้องวงใหญ่, ฆ้องวงเล็ก, ระนาดเอก, ระนาดทุ้ม, ตะโพน, กลองทัด, ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง

     ปี่พาทย์นางหงส์ปี่ชวา, ฆ้องวงใหญ่, ฆ้องวงเล็ก, ระนาดเอก, ระนาดทุ้ม, กลองมลายู, ฉิ่ง

     ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ขลุ่ยเพียงออ, ขลุ่ยอู้, ฆ้องวงใหญ่, ฆ้องหุ่ย, ระนาดเอก, ระนาดทุ้ม, ระนาดทุ้มเหล็ก, ซออู้, ตะโพน, กลองตะโพน, กลองแขก, ฉิ่ง (กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เป็นผู้คิดขึ้น)

     ปี่พาทย์มอญปี่มอญ, ฆ้องมอญ, ระนาด, เปิงมางคอก, ตะโพนมอญ, โหม่งมอญ, ฉิ่ง ฉาบ (จัดเครื่องดนตรีตามแต่ว่าจะเป็นชุดเครื่องเล็ก, เครื่องใหญ่ หรือเครื่องคู่)

วงมโหรี


     วงมโหรี  ในสมัยอยุธยาวงมโหรีเกิดขึ้นมาจากการดัดแปลงวงขับไม้ในอดีตโดยนำพิณมาร่วมบรรเลงดัวย ซึ่งเดิมมีเครื่องดนตรีเพียง 2 ชิ้น แล้วเปลี่ยนคนขับลำนำมาเป็นคนร้อง และตีกรับพวง เปลี่ยนจากบัณเฑาะว์เป็นโทน พร้อมกับเพิ่มรำมะนา และขลุ่ยไปประสมร่วม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://student.nu.ac.th/thaimusic_akez/index.htm

*-*-*-*-*-*

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เครื่องดนตรีไทยประเภทเป่า

เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่า

     เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ดังเดิมได้จากพืช ได้แก่หลอดไม้ต่าง ๆ และจากสัตว์ ได้แก่ เขาสัตว์ต่างๆ ต่อมาได้มีวิวัฒนาการด้วยการเจาะรูและทำลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ขลุ่ยชนิดต่าง ๆ ปี่ ชนิดต่าง ๆ และแคน เป็นต้น

     ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และงาช้าง แต่ที่ทำจากไม้รวกจะให้เสียงนุ่มนวล ไพเราะกว่า ขลุ่ยมี ๕ ชนิด คือ ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยนก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ และ



     ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยมีส่วนประกอบดังนี้     
     - เลาขลุ่ย คือ ตัวขลุ่ย มีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของขลุ่ย มักนิยมประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ ลงบนตัวขลุ่ย เช่น ลายดอกพิกุล ลายหิน และลายลูกระนาด เป็นต้น 
     - ดาก คือ ไม้อุดปากขลุ่ย นิยมใช้ในไม้สักทอง เหลากลมให้คับแน่นกับร่องภายในของปากขลุ่ย ฝานให้เป็นช่องว่าง ลาดเอียงตลอดชิ้นดาก ให้เป่าลมผ่านไปได้     
     - รูเป่า เป็นรูสำหรับเป่าลมเข้าไป     
     - รูปากนกแก้ว เป็นรูที่เจาะร่องรับลม จากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่ด้านเดียวกับรูเป่า อยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปากนกแก้วนี้ทำให้เกิดเสียง เทียบได้กับลิ้นของขลุ่ย 
     - รูเยื่อ เป็นรูสำหรับบิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพริ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ         - รูค้ำ หรือรูนิ้วค้ำ เป็นรูสำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิด เพื่อบังคับเสียง และประคองเลาขลุ่ยขณะเป่า อยู่ด้านล่างเลาขลุ่ย ต่อจากรูปากนกแก้วไปทางปลายเลาขลุ่ย     
     - รูบังคับเสียง เป็นรูที่เจาะเรียงอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มีอยู่ ๗ รู ด้วยกัน    
     - รูร้อยเชือก มี ๔ รู หรือ ๒ รูก็ได้ อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุบน-ล่าง และ ซ้าย-ขวา ให้เยื้องกันในแต่ละคู่ เสียงขลุ่ยเกิดจากเป่าลม และใช้นิ้วมือปิดเปิดรูบังคับเสียง

     ขลุ่ยกรวด มีขนาดเล็กกว่า ขลุ่ยเพียงออ ระดับเสียงต่ำสุดสูงกว่า ระดับเสียงของขลุ่ยเพียงอออยู่ ๑ เสียง





     ขลุ่ยนก เป็นขลุ่ยพิเศษ ทำขึ้นเพื่อ เสียงสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะนก ใช้บรรเลง ประกอบในวงดนตรี เพื่อให้เกิดจินตนาการ ในการฟังเพลงได้ดียิ่งขึ้น บางครั้งยังใช้ ลิ้นปี่มาประกอบกับ ตัวขลุ่ยเพื่อเลียนเสียงไก่ ขลุ่ยพิเศษเหล่านี้นิยมใช้บรรเลง เพลงตับนก และตับภุมรินทร์




     ขลุ่ยหลีบ เป็นขลุ่ยขนาดเล็ก มีเสียงสูงแหลมเล็ก ระดับเสียงต่ำสุดสูงกว่า เสียงต่ำสุดของขลุ่ยเพียงออขึ้นมา ๓ เสียง ใช้เป่าคู่กับขลุ่ยเพียงออ หรือขลุ่ยกรวด มีอยู่สองชนิด คือ ขลุ่ยหลีบเพียงออ และขลุ่ยหลีบกรวด



     ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่ ระดับเสียงต่ำสุด ต่ำกว่าระดับเสียงต่ำสุดของขลุ่ยเพียงออ ลงไปอีก ๒ เสียง ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์



  
     ปี่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า ปกติ เลาปี่ ทำด้วยไม้แก่น ต่อมามีผู้คิดทำด้วยงา โดยกลึงให้เป็นรูปบานหัว และบานท้าย ช่วงกลางป่อง ภายในกลวง ทางหัวใส่ลิ้นเป็นช่องรูเล็ก ทางท้ายปากรูใหญ่ ใช้งา ชัน หรือวัสดุอย่างอื่นมาหล่อเสริมตอนหัว และตอนท้าย เรียกว่า "ทวน" ทางหัวเรียกว่า "ทวนบน" ทางท้ายเรียกว่า "ทวนล่าง" ช่วงที่ป่องกลาง เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียง เรียงลงมาตามข้างเลาปี่ จำนวน ๖ รู ที่รูเป่าตอนทวนบนใส่สิ้นสำหรับเป่าเรียกว่า ลิ้นปี่ ทำด้วยใบตาลซ้อน ๔ ชั้น ตัดกลมผูกติดกับท่อกลมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "กำพวด" ทำด้วยโลหะ มีลักษณะเรียว วิธีผูกเชือกให้ลิ้นใบตาลติดกับกำพวดเรียกว่า "ผูกตะกรุดเบ็ด"

     
     ปี่ไฉน เป็นปี่สองท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียงยาว ปลายผายออกเล็กน้อยเรียกว่า "เลาปี่" ท่อนล่างปลายบานเรียกว่า "ลำโพง" ทำด้วยไม้หรืองา ปี่ชนิดนี้เข้าใจว่าได้แบบอย่างมาจาก เครื่องดนตรีของอินเดีย ซึ่งเป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยไม้ ไทยใช้ปี่ชนิดนี้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ปัจจุบันใช้ในขบวนแห่ คู่กับปี่ชวา จ่าปีใช้เป่านำกลองชนะในกระบวนพยุหยาตรา



ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://student.nu.ac.th/thaimusic_akez/index.htm

*-*-*-*-*-*

เครื่องดนตรีไทยประเภทตี

เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี

     เครื่องตี เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิด เสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี นับว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภท เก่าแก่ที่สุดที่ที่มนุษย์รู้จักใช้ ได้มีวิวัฒนาการจากอุปกรณ์ง่ายๆ ให้มี ความหลากหลายออกไปทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้ สำหรับเครื่องดนตรีไทย ที่เป็นประเภทเครื่องตีมีดังนี้

     เครื่องตีทำด้วยไม้ 

     กรับพวง กรับพวง ทำด้วยไม้หรือโลหะ ลักษณะเป็นแผ่นบาง หลายแผ่นร้อยเข้าด้วยกัน ใช้ไม้หนาสองชิ้นประกับไว้ วิธีตี ใช้มือหนึ่งถือกรับแล้วตีกรับลงไปบนอีกมือหนึ่งที่รองรับทำให้เกิดเสียงกระทบ จากแผ่นไม้หรือแผ่นโลหะดังกล่าว ใช้ตีในการบรรเลงมโหรีโบราณ เล่นเพลงเรือ และโขนละคร


     กรับเสภา กรับเสภา ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม มีสันมน วิธีตี การตีใช้ขยับมือที่ละคู่ การขับเสภาใช้กรับสองคู่ ถือมือละคู่ ผู้ขับเสภาจะขยับกรับ สองคู่นี้ตามท่วงทำนองที่เรียกเป็นไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้กรอ ไม้หนึ่ง ไม้รบ หรือไม้สี่


     ระนาดเอก ระนาดเอก ที่ให้เสียงนุ่มนวล นิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการ ให้ได้เสียงเกรียวกราว นิยมทำด้วยไม้แก่น ลูกระนาดมี ๒๑ ลูก ลูกที่ ๒๑ หรือลูกยอด จะมีขนาดสั้นที่สุด ลูกระนาด จะร้อยไว้ด้วยเชือกติดกันเป็นผืนแขวนไว้บนราง ซึ่งทำด้วย ไม้เนื้อแข็งรูปร่างคล้ายเรือ ด้ามหัวและท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียง มีแผ่นไม้ปิดหัวและท้ายรางเรียกว่า "โขน" ฐานรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งทำด้วยวัสดุที่นุ่มกว่า ใช้ผ้าพัน แล้วถักด้ายสลับ เวลาตีจะให้เสียงนุ่มนวล เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปีพาทย์ไม้นวม" วิธีตี เมื่อตีตามจังหวะของลูกระนาดแล้วจะเกิดเสียงกังวาล ลดหลั่นกันไปตามลูกระนาด ระนาดที่ให้เสียงแกร่งกร้าว อันเป็นระนาดดั้งเดิมเรียกว่า ระนาดเอก


     ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้ม เลียนแบบระนาดเอก สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลูกระนาดมีจำนวน ๑๗-๑๘ ลูก ตัวลูกมีขนาดกว้างและยาวกว่าของระนาดเอก ตัวรางก็แตกต่าง จากระนาดเอก คือเป็นรูปคล้ายหีบไม้แต่เว้ากลาง มีโขนปิดหัวท้าย มีเท้าอยู่สี่มุมราง ไม้ตีตอนปลายใช้ผ้าพันพอกให้โต และนุ่ม เวลาตีจะได้เสียงทุ้ม วิธีตี ตีตามจังหวะของลูกระนาดใช้บรรเลงในวงปีพาทย์ทั่วไป มีวิธีการบรรเลง แตกต่างไปจากระนาดเอก คือไม่ได้ยึดการบรรเลงคู่ ๘ เป็นหลัก



     เครื่องตีทำด้วยโลหะ

     ฉิ่ง เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะ ทำด้วยโลหะ หล่อหนา รูปร่างกลม เว้ากลาง ปากผาย คล้ายฝาขนมครกไม่มีจุก สำรับหนึ่งมีสองฝาเจาะรูตรงกลางที่เว้า สำหรับร้อยเชือกโยงฝาทั้งสอง เพื่อสะดวกในการถือตี ฉิ่งมีสองขนาด ขนาดใหญ่ใช้ประกอบวงปีพาทย์ ขนาดเล็กใช้กับวงเครื่องสายและมโหรี



     ฉาบ เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะ ทำด้วยโลหะ รูปร่างคล้ายฉิ่ง แต่ มีขนาดใหญ่กว่าและหล่อบางกว่า มีสองขนาด ขนาดใหญ่กว่าเรียกว่า ฉาบใหญ่ ขนาดเล็กกว่า เรียกว่า ฉาบเล็ก การตีจะตีแบบประกบ และตีแบบเปิดให้เสียงต่างกัน



     ฆ้อง ตัวฆ้องทำด้วยโลหะแผ่นรูปวงกลมตรงกลางทำเป็นปุ่มนูน เพื่อใช้รองรับการตีให้เกิดเสียงเรียกว่า ปุ่มฆ้อง ต่อจากปุ่มเป็นฐานแผ่ออกไป แล้วงองุ้มลงมาโดยรอบเรียกว่า "ฉัตร" ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มเรียกว่า "หลังฉัตร" หรือ " ชานฉัตร" ส่วนที่งอเป็นขอบเรียกว่า "ใบฉัตร" ที่ใบฉัตรนี้จะมีรูเจาะสำหรับร้อยเชือกหรือหนังเพื่อแขวนฆ้อง ถ้าแขวนตีทางตั้งจะเจาะสองรู ถ้าแขวนตีทางนอนจะเจาะสี่รู





     การบรรเลง ฆ้องใช้ในการบรรเลงได้สองลักษณะคือ ใช้ตีกำกับจังหวะ และใช้ตีดำเนินทำนอง ฆ้องที่ใช้ตีกำกับจังหวะได้แก่ ฆ้องหุ่ย หรือฆ้องชัย ฆ้องโหม่ง ฆ้องเหม่ง ฆ้องระเบ็ง และฆ้องคู่ ฆ้องที่ใช้ตีดำเนินทำนอง ได้แก่ ฆ้องราง ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมโหรี ฆ้องมอญ ฆ้องกะแตและฆ้องหุ่ย หรือฆ้องชัย ฆ้องกะแต ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ลูกฆ้องมีขนาดเล็ก จำนวน ๑๑ ลูก


     ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงใหญ่ มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก ลูกเสียงต่ำสุดเรียกว่า ลูกทวน ลูกเสียงสูงสุดเรียกว่า ลูกยอด ไม้ที่ใช้ตีมีสองอัน ผู้ตีถึงไม้ตีมือละอัน



     ฆ้องวงเล็ก มีลูกฆ้อง ๑๘ ลูก สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ใช้บรรเลงร่วมในวงปีพาทย์ มีหน้าที่เก็บ สอด แทรก ฯลฯ




     ฆ้องหุ่ย ใช้ตีกำกับจังหวะ เป็นฆ้องที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในวงดนตรีไทย มีอีกชื่อว่า ฆ้องชัย อาจเป็นเพราะสมัยโบราณ ใช้ฆ้องชนิดนี้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ปัจจุบันใช้ตีใน งานพิธี งานมงคลต่าง ๆ




     ฆ้องโหม่ง ใช้ตีกำกับจังหวะ มีขนาดใหญ่ รองลงมาจากฆ้องหุ่ย ได้ชื่อนี้ตามเสียงที่เกิดจากการตี




     ฆ้องมโหรี เป็นฆ้องวงที่ใช้บรรเลงในวงมโหรีโดยเฉพาะ มีอยู่สองขนาด คือฆ้องวงใหญ่มโหรีและฆ้องวงเล็กมโหรี ฆ้องวงใหญ่มโหรีเดิมมีลูกฆ้อง ๑๗ ลูก ต่อมานิยมใช้ ๑๘ ลูก




     ฆ้องมอญ เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง ไม่วางราบเหมือนฆ้องไทย มีลูกฆ้อง ๑๕ ลูก ใช้บรรเลงใน วงปีพาทย์มอญ ตัวรางประดิษฐ์ตกแต่งงดงาม




     ฆ้องระเบ็ง ใช้ตีประกอบการและแสดงระเบ็ง ชุดหนึ่งมีสามลูก มีขนาดและให้เสียงสูง-ต่ำ ต่างกัน มีชื่ออีกอย่างหนึ่งตามลักษณะว่า "ฆ้องราว" ฆ้องราง ใช้ตีดำเนินทำนอง ชุดหนึ่งมี ๗-๘ ลูก เสียงลูกที่ ๑ กับลูกที่ ๘ เป็นเสียงเดียวกัน แต่ต่างระดับเสียง ปัจจุบันไม่มีการใช้ในวงดนตรีไทย




     เครื่องตีทำด้วยหนัง

     กลองแขก มีรูปร่างยาวเป็นกระบอก หน้าด้านหนึ่งใหญ่เรียกว่า "หน้ารุ่ย" หน้าด้านหนึ่งเล็กเรียกว่า "หน้าต่าน" หนังหน้ากลองทำด้วยหนังลูกวัวหนังแพะ ใช้เส้นหวายฝ่าชีกเป็นสายโยงเร่งให้ตึงด้วยรัดอก สำรับหนึ่งมีสองลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า "ตัวผู้" ลูกเสียงต่ำเรียกว่า "ตัวเมีย" การตี การตีใช้ฝ่ามือทั้งสอง ตีทั้งสองหน้าให้เสียงสอดสลับกันทั้งสองลูก กลองชนิดนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กลองชะวา"



     กลองชาตรี มีรูปร่างลักษณะและการตีเช่นเดียวกับกลองทัด แต่ขนาดเล็กกว่ากลองทัดประมาณครึ่งหนึ่ง ขึ้นหนังสองหน้าใช้บรรเลงร่วมในวงปีพาทย์ใน การแสดงละครชาตรีที่เรียกว่า "ปีพาทย์ชาตรี" ใช้เล่นคู่กับโทนชาตรี




     กลองชนะ รูปร่างเหมือนกลองแขก แต่สั้นกว่า หน้าหนึ่งใหญ่ อีกหน้าหนึ่งเล็ก ใช้ตีด้วยไม้งอ ๆ หรือหวาย ทางด้านหน้าใหญ่เดิมกลองชนะน่าจะใช้ใน กองทัพหรือในการสงครามต่อมาใช้เป็นเครื่องประโคม ในกระบวนพยุหยาตรา และใช้ประโคม พระบรมศพ พระศพ และศพ ตามเกียรติยศของงาน จำนวนที่ใช้บรรเลง มีตั้งแต่ ๑ คู่ ขึ้นไป





     กลองต๊อก เป็นกลองจีนชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็ก หุ่นกลองหนา ขึ้นหนังสองหน้า หน้าทั้งสองมีขนาดเท่ากัน ตีหน้าเดียวโดยใช้ไม้ขนาดเล็ก


     กลองทัด มีรูปทรงกระบอกกลางป่องออกเล็กน้อย ขึ้นหนังสองหน้า ตรึงด้วยหมุดที่เรียกว่า "แส้" ซึ่งทำด้วยไม้ งาช้าง กระดูกสัตว์ หรือโลหะ หน้ากลองด้านหนึ่งติดข้าวตะโพนแล้วตีอีก ด้านหนึ่ง ใช้ไม้ตีสองอัน สำรับหนึ่งมีสองลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า "ตัวผู้" ลูกเสียงต่ำเรียกว่า "ตัวเมีย"ตัวผู้อยู่ทางขวาและตัวเมียอยู่ทางซ้าย ของผู้ตีกลองทัดน่าจะเป็นกลองของไทยมา แต่โบราณใช้บรรเลงรวมอยู่ในวงปีพาทย์มาจน ถึงปัจจุบัน


     กลองตะโพน ใช้ตะโพนสองลูก เสียงสูงต่ำต่างกัน ถอดเท้าออก แล้วนำมาตั้งเอาหน้าเท่งขึ้นตีแบบกลองทัด ใช้ไม้นวมที่ใช้ตีระนาดเป็นไม้ตี

     กลองโมงครุ่ม มีรูปร่างลักษณะเหมือนกลองทัด แต่ใหญ่กว่า ขึ้นหนังสองหน้า ตรึงด้วยหมุด ตีหน้าเดียวโดยใช้ไม้ตีใช้ตีในการเล่นสมัย โบราณที่เรียกว่า "โมงครุ่ม" หรือ "โหม่งครุ่ม" ซึ่งมักตีฆ้องโหม่งประกอบด้วย


     กลองมลายู มีรูปร่างลักษณะเหมือนกลองแขก แต่สั้นและอ้วนกว่า หน้าหนึ่งใหญ่ อีกหน้าหนึ่งเล็กขึ้นหนังสองหน้า เร่งให้ตึงด้วยหนังรูดให้แน่น สายโยงเร่งเสียงทำด้วยหนัง หน้าใหญ่อยู่ทางขวาไปตีด้วยไม้งอ หน้าเล็กตีด้วยฝ่ามือ สำรับหนึ่งมีสีลูก ต่อมาลดเหลือสองลูก ใช้บรรเลงคู่ อย่างกลองแขกลูกเสียงสูงเรียกว่า "ตัวผู้" ลูกเสียงต่ำเรียกว่า "ตัวเมีย" ใช้บรรเลงในวงบัวลอยในงานศพ และใช้บรรเลงในวงปีพาทย์นางหงส์


     กลองสองหน้า ลักษณะคล้ายเปิงมาง แต่ใหญ่กว่า ตีด้วยมือขวาใช้ใบเดียวตีกำกับจังหวะในวงปีพาทย์ ที่บรรเลงในการขับเสภา


      กลองยาว หุ่นกลองทำด้วยไม้ ตอนหน้าใหญ่ ตอนท้ายเรียวแล้วบานปลายเป็นรูปดอกลำโพงมีหลาย ขนาดขึ้นหนังหน้าเดียวตัวกลางนิยมตบแต่งให้สวยงาม ด้วยผ้าสีหรือผ้าดอกเย็บจีบย่นปล่อยเชิงเป็นระบายห้อย มาปก ด้วยกลอง มีสายสะพายสำหรับคล้องสะพายบ่า ใช้ตีด้วยฝ่ามือ แต่การเล่นโลดโผน อาจใช้ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายตีก็มี กลองยาวได้แบบอย่างมาจากพม่า นิยมเล่นในงานพิธีขบวนแห่ กลองชนิดนี้เรียกชื่อตามเสียงที่ตีได้อีกชื่อหนึ่งว่า "กลองเถิดเทิง"


     ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง ตัวตะโพนเรียกว่า "หุ่น" ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนังสองหน้า ตรงกลางป่องและสอบไปทางหน้าทั้งสอง หน้าหนึ่งใหญ่เรียกว่า "หน้าเทิ่ง" หรือ "หน้าเท่ง" ปกติอยู่ด้านขวามือ อีกหน้าหนึ่งเล็ก เรียกว่า "หน้ามัด" ใช้สายหนังเรียกว่า "หนังเรียด" โยงเร่งเสียงระหว่างหน้าทั้งสอง ตรงรอบ ขอบหนังขึ้นหน้าทั้งสองข้าง ถักด้วยหนังตีเกลียวเป็นเส้นเล็ก ๆ เรียกว่า "ไส้ละมาน" สำหรับใช้ร้อยหนังเรียดโยงไปโดยรอบจนหุ้มไม้หุ่นไว้หมดตอนกลางหุ่นใช้หนังเรียดพัน โดยรอบเรียกว่า "รัดอก" หัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้าที่ทำด้วยไม้ ใช้ฝ่ามือซ้าย-ขวา ตี ทั้สองหน้าตะโพนใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงปีพาทย์ ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับต่าง ๆ ผู้ที่นับถือพระประคนธรรพว่าเป็นครูใหญ่ทางดนตรีได้ถือเอาตะโพนเป็นเครื่องแทน พระประคนธรรพในพิธีไหว้ครู และถือว่าตะโพนเป็นเครื่องควบคุมจังหวะที่สำคัญที่สุด


     ตะโพนมอญ คล้ายตะโพนไทย แต่ใหญ่กว่า และตรงกลางหุ่นป่องน้อยกว่า มีเสียงดังกังวาลลึกกว่าตะโพนไทย หน้าใหญ่เรียกว่า "เมิกโนด" หน้าเล็กเรียกว่า "เมิกโด้ด" เป็นภาษามอญ ตะโพนมอญใช้บรรเลงผสมในวงปีพาทย์มอญ มีหน้าที่บรรเลงหน้าทับ กำกับจังหวะต่าง ๆ


ขอบขอบคุณข้อมูลจาก : http://student.nu.ac.th/thaimusic_akez/index.htm

*-*-*-*-*-*

กลับหน้าหลัก