วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เครื่องดนตรีไทยที่มีการประยุกต์ให้เข้ากับเครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีไทยที่มีการประยุกต์ให้เข้ากับเครื่องดนตรีสากล

     ๑.    ตะเลงเอก เปรียบได้กับระนาดเอกของไทยเดิม ทำไมต้องตั้งชื่อว่า ตะเลง เป็นเพราะเสียงของระนาดคือ เต็ง ๆ ตะเลง ๆ จึงใช้เสียงนำมาตั้งเป็นชื่อ การตีตะเลง เหมือนกับ การตีระนาดทุกอย่าง ต่างที่วิธีการ และองค์ความรู้    ซึ่งระนาดปัจจุบันมี ๒๒ ลูก แต่ ตะเลง มี ๓๗ ลูก แต่มีความยาวผืนเท่ากัน สามารถใช้รางเดียวกันได้เลย ระยะห่างของมือก็เท่ากัน คือ ห่าง ๘ ลูกระนาด เท่ากับห่าง ๑๓ ลูก ของตะเลง เราสามารถเรียนรู้วิธีการเล่นตะเลงได้ในแบบสากลสามารถอ่านโน้ตสากลได้ มีการประสานเสียงเป็นแบบสากลทั่วโลก



     ๒.     ตะเลงทุ้ม   เปรียบได้กับระนาดทุ้มของไทย ทำหน้าที่ ประสาน สอดทำนอง ความยาวผืนเท่ากับระนาดทุ้มไทยเช่นกันแต่มี ๒๙ ลูก



     ๓.   ขิมโครมาติค เป็นเครื่องมือที่ผู้เขียนมีความภูมิใจเป็นอย่างมากเพราะเป็นเครื่องแรกที่ประยุกต์ขึ้นมาอีกทั้งมีเทคนิคและรูปแบบที่ไม่เหมือนใครในโลก สามารถเล่นโน้ตสากลได้ครบสมบูรณ์โดยไม่ต้องเสริมหลักเหมือนขิมทั่วไป มีขนาด ๑๘ หย่องที่เป็นมาตรฐานซึ่งมีขนาดเท่ากับขิม ๑๑ หย่องทั่วไป



     ๔. แข่   หรือ จะเข้สากล ขนาดเท่าจะเข้เดิมทุกอย่างต่างกันที่มี นม ๑๙ นม ของเดิมมี ๑๑นม และแข่มีทั้ง  สาย กับ  สาย สามารถเล่นคอร์ดได้



     ๕. ฆ้องสากล   เหมือนกับฆ้องไทย เป็นการรวม เอาฆ้องวงใหญ่ มารวม กันกับฆ้องวงเล็ก มีลูกฆ้อง ๒๖ ลูก สามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนองและ แนวประสาน



     ๖กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีโบราณ มี  สาย แต่เรานำมาแยกสายออกจากกัน วิธีการเล่นเหมือนกับการเล่นกีตาร์สากล



     ๗ขลุ่ย เหมือนขลุ่ยทั่วไป มี๗ รูแต่มีเสียงสากลครบ


        
     และยังมีอื่นๆอีกมากอาทิเช่น เปิงมางคอก ซึ่งเดิมมี  ลูก แต่ประยุกต์แล้วมี ๑๓ ลูกตั้งเสียงเป็นแบบสากลครบทุกเสียง

     การบรรเลงเครื่องดนตรีไทยกับเครื่องดนตรีสากล

- เพลง คิดถึงพี่ไหม


- เพลง ทานตะวัน





*-*-*-*-*-*

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น